วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ที่ดิน นส.3ก แตกต่างจากโฉนดปกติอย่างไร

วางแผนอนาคตจะซื้อที่ดินแปลงที่สอง เป็นบ้านพักตากอากาศสักหลัง พอเริ่มค้นหาข้อมูลพบว่ามีเอกสารสิทธิ์หลายรูปแบบที่เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมประกาศซื้อขายไว้ เช่น ขายที่ดิน นส3ก ขายที่ดิน ภบท5 เลยรู้สึกงง ๆ เพราะเคยทำสัญญาประเภทแบ่งโฉนดในพื้นที่ดินจัดสรร ในกรุงเทพฯ เริ่มรู้สึกว่าไม่มั่นใจว่า การซื้อที่ดินต่างจังหวัดที่ประกาศขายกันนั้น มีกรรมสิทธิครอบครอง เลยลองศีกษาข้อมูลมาแบ่งปันกัน หากท่านใดที่มีความรู้ด้วยนี้ ช่วยบรรยายเพิ่มเติมด้วยจักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ
โฉนด เป็นหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ และ นส.3 ก เป็นหนังสือสำคัญแสดงสิทธิครอบครอง ซึ่งในความหมายของคนทั่วไป ไม่ว่าจะกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองก็เป็นเจ้าของทั้งคู่
แต่ในทาง “กฎหมาย” นั้นการมีกรรมสิทธิ์กับสิทธิครอบครองจะแตกต่างกัน ที่ดินที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ (โฉนดที่ดิน) ตามมาตรา 2 ป.ที่ดินถือว่าเป็นของรัฐ ข้อแตกต่างอีกเรื่องคือเรื่องการสูญเสีย ถ้าที่ดินมีกรรมสิทธิ์ การสูญเสียจะยาก เพราะว่ากรรมสิทธิ์จะมั่นคงใครมาแย่งกรรมสิทธิ์ ต้องใช้อายุความถึง 10 ปี (ครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382) แต่ถ้าที่ดินนั้นมีเพียงสิทธิครอบครอง การสูญเสียจะง่ายกว่า เพราะสิทธิครอบครองจะเบากว่า หากมีคนมาแย่งการครอบครองจะใช้อายุความ 1 ปี (เขาไม่เรียกว่าการครอบครองปรปักษ์ เพราะจะครอบครองปรปักษ์ได้จะต้องเป็นที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น)
นส.3 ก ก็เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ ส่วนหนังสือรับรองการทำประโยชน์อีกประเภทก็คือ นส.3 กับ นส.3 ข ทั้งสองประเภทนี้ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ
ข้อแตกต่างในเรื่องการโอน ตามปกติแล้วการโอนเช่นการซื้อขายที่ดินไม่ว่าจะเป็นที่ดินมีโฉนดหรือ นส. 3 ก นั้นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 ประกอบ มาตรา 4 ทวิ ป.ที่ดิน แต่ นส. 3 ก นั้น ถึงแม้ไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันทำให้นิติกรรมการโอนเป็น “โมฆะ” ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่เนื่องจากมันเป็นที่ดินมีสิทธิครอบครองจึงสามารถโอนกันได้ด้วยการส่งมอบการครอบ (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6597/2542) เป็นการนำเอามาตรา 174 ป.พ.พ. มาปรับใช้
ตามข่าวในทีวีเมื่อช่วงต้นปี 2552 ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้ให้ข้อคิดและคำเตือนกับคนไทยไว้ว่า อย่าประมาทต่อผลกระทบของภาวะโลกร้อน ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า น้ำทะเลในอ่าวไทยจะสูงขึ้นถึง 7 เมตร หากประชากรของโลกยังบริโภคพลังงานน้ำมัน สร้างภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเกิดความแปรปรวนทางธรรมชาติ เลยวางแผนว่าจะไปซื้อบ้านหลังที่ 2 ไว้ที่แถว ๆ ปากช่อง เผื่อน้ำท่วมกรุงเทพฯ จะได้มีที่พักอาศัยทดแทนให้ลูกหลาน ดูแผนที่น้ำท่วม 7 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น