วันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การวิเคราะห์ทำเลที่ตั้ง (Location Analysis)

ปัจจัยที่ สำคัญที่สุด 3 ประการต่อการทำการปลูกสร้างสินทรัพย์ดำเนินระยะยาวเพื่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน อาคาร โรงงาน หรือสิ่งปลูกสร้างในลักษณะอื่นใดก็ตามนั่นคือ ที่ตั้งที่ลูกค้าเข้าถึงได้ง่าย ไปมาสะดวก เช่น คลินิก ร้านทำผม ร้านตัดเสื้อผ้า หรือที่ตั้งใกล้กับกิจการคู่แข่งขันที่เป็นแหล่งชุมชนซึ่งมีกลุ่มลูกค้าเป้า หมายอาศัยอยู่ เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น กับ โลตัสเอ็กเพรส หรือ แฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น และที่ตั้งของซัพพลายเออร์ เช่น ร้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มักจะตั้งอยู่ใกล้กับโรงพยาบาล ซึ่งจะทำให้สามารถดึงดูดลูกค้าได้ดีกว่า เป็นต้น 
.
จากตัวอย่าง ที่กล่าวถึงในกรณีข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าทำเลที่ตั้งเป็นการตัดสินใจเชิง กลยุทธ์ที่มีความสำคัญมากซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปของการดำเนินในแต่ละ ธุรกิจว่าสามารถช่วยทำให้การดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ถ้าทำเล ที่ตั้งนั้นเหมาะสม แต่ถ้าทำเลที่ตั้งนั้นอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะสมแล้ว กิจการอาจจะต้องประสบกับปัญหาที่ยุ่งยากหรือใช้เวลาที่นานมากขึ้นจึงจะประสบ ความสำเร็จได้     
 
ความแตกต่าง ในแต่ละประเภทจะเน้นปัจจัยในลักษณะที่มีความแตกต่างกันไปเมื่อจะทำการตัดสิน ใจกำหนดทำเลที่ตั้งของกิจการ กิจการให้การบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ ธนาคาร เป็นต้น จะเน้นปัจจัยของทำเลที่ตั้งที่ใกล้กับลูกค้า กิจการอุตสาหกรรมจะเน้นทำเลที่ตั้งใกล้ที่สะดวกต่อการขนส่งวัตถุดิบ หรือใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรือแหล่งที่มีทรัพยากรด้านแรงงานมากเพียงพอ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการที่จำเป็นต่อการพิจารณาตัดสินใจเพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง
 
ทำเลที่ตั้งคืออะไร
ทำเลที่ตั้ง เป็นการประเมินถึงทำเลหรือพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกทาง ธรรมชาติที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน การตัดสินใจเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งที่สามารถอำนวยความสะดวกได้เป็นเรื่องที่มี ความสำคัญอย่างหนึ่งโดยเฉพาะด้วยเหตุผลที่สำคัญ 2 ประการ คือ ประการแรกกิจการเหล่านั้นต้องดำเนินการสร้างพันธะระยะยาวทั้งในส่วนของอาคาร โรงงาน เครื่องจักร และสิ่งอำนวยความสะดวกในลักษณะอื่น ๆ เพื่อการดำเนินงานเพิ่มเติม
 
ซึ่งหมายความ ว่าถ้ามีความผิดพลาดเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งเหมาะสมเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากต่อ การดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องได้ ประการที่สอง การตัดสินใจในเรื่องนี้มีความต้องการเงินลงทุนสูงมากที่สามารถจะส่งผลกระทบ ต่อต้นทุนในการดำเนินที่สูงมาก          
 
รวมไปถึงส่วน ของรายได้ด้วย ทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมสามารถส่งผลต่อต้นทุนในการขนส่งที่สูงขึ้น ซัพพลายเออร์ที่จัดหาวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ การขาดแคลนแรงงาน สูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน และสูญเสียเงินทุน กิจการต่าง ๆ จึงต้องใช้เวลาในการตัดสินใจที่นานเพียงพอและทบทวนปัจจัยในเรื่องต่าง ๆ ด้วยความระมัดระวังเมื่อต้องทำการกำหนดทำเลที่ตั้งใหม่ในแต่ละครั้ง 
 
โดยส่วนมาก แล้วจะไม่มีทำเลที่ตั้งใดที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วนในทุกด้าน ทำให้การเลือกทำเลที่ตั้งมักจะยอมรับความสำคัญในด้านใดเป็นหลักในการกำหนด ทำเลที่ตั้งมากกว่า ทำเลที่ตั้งแห่งหนึ่งอาจจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างหนึ่งที่เป็นที่น่าพึง พอใจมากกว่า ในขณะที่ในอีกทำเลที่ตั้งหนึ่งจะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในอีกลักษณะหนึ่งที่ สร้างความพึงพอใจได้ในอีกมุมมองหนึ่ง         
 
ถ้าการ พิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งใหม่เป็นกรณีของการขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นกิจการ อาจจำเป็นต้องเลือกความพึงพอใจในสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำเนินในอีกลักษณะ หนึ่งที่มีความแตกต่างไปจากทำเลที่ตั้งเดิมซึ่งมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่น่า พึงพอใจในอีกลักษณะหนึ่งอยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นเพิ่มศักยภาพของกำลังการผลิตที่จำเป็นต่อการดำเนินงานให้ ครบถ้วน ๆ ได้มากยิ่งขึ้น
 
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง
ปัจจัยหลาย ประการสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งได้ รวมถึงความสะดวกในการเข้าถึงลูกค้า การขนส่ง แหล่งแรงงาน ทัศนคติของชุมชน ความสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบ และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ โดยพื้นฐานแล้วธุรกิจของกิจการหนึ่งมักจะมีการกำหนดปัจจัยที่ถือเป็นประเด็น สำคัญลำดับแรกต่อการเลือกทำเลที่ตั้งของกิจการนั้น            
 
อย่างที่ได้ กล่าวถึงไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าธุรกิจการให้บริการและธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นจะ มุ่งให้ความสำคัญในปัจจัยหลักที่มีผลต่อการกำหนดทำเลที่ตั้งในลักษณะที่แตก ต่างกันไป กิจการที่แสวงหากำไรมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่กิจการต้องให้การบริการ ในขณะที่องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรโดยทั่วไปแล้วจะมุ่งให้ความสำคัญกับปัจจัยใน ด้านอื่นมากกว่า
 
การที่จะ กำหนดปัจจัยหลักในการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งที่จะมีอิทธิพลต่อเป้าหมาย เชิงกลยุทธ์ของกิจการด้วย จึงถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เช่น แม้ว่ากิจการให้การบริการจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับประเด็นของการมีที่ตั้ง ใกล้กับลูกค้า แต่ถ้ากิจการมีการนำเสนอการให้บริการแบบจัดส่งถึงที่ ปัจจัยเกี่ยวกับทำเลที่ตั้งใกล้กับกลุ่มลูกค้าจะมีความสำคัญลดลงไป เป็นต้น แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร อาจเลือกทำเลที่ตั้งใกล้กับแหล่งที่ให้เงินทุนหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือ หรือสนับสนุนงานขององค์กรมากกว่า
 
* ที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ 
กิจการหลาย ๆ แห่งต้องการทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบ การให้ความสำคัญกับปัจจัยในประเด็นนี้ด้วยเหตุผลที่มีความแตกต่างกันไป ในหลาย ๆ กรณีเนื่องจากบางกิจการไม่มีทางเลือก เช่น กิจการโรงสีข้าว กิจการเฟอร์นิเจอร์ที่จากไม้จริง กิจการเหมืองแร่ การมีที่ตั้งของกิจการเหล่านี้ใกล้แหล่งวัตถุดิบถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำ เป็นมากกว่าปัจจัยอื่น เป็นต้น ในกรณีอื่น ๆ ทำเลที่ตั้งอาจจะถูกกำหนดด้วยลักษณะธรรมชาติเกี่ยวกับความเน่าเสียได้ง่าย ของวัตถุดิบที่จะถูกนำมาแปรสภาพเป็นสินค้าต่อไป 
 
เหตุผลใน ลักษณะอื่น ๆ ที่ทำเลที่ตั้งควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบคือ เพื่อหลีกเลี่ยงต้นทุนการขนส่งที่สูง เช่น อุตสาหกรรมที่ทำการผลิตกระดาษ การขนย้ายท่อนไม้ขนาดใหญ่เพื่อไปยังโรงงานผลิตเป็นสิ่งที่ทำได้ยุ่งยาก มากกว่าไม่ว่าจะเป็นพาหนะที่ใช้ในการขนย้าย เวลาในการท่อนขนไม้ขนาดใหญ่จากนอกเมืองเข้ามายังในเมืองซึ่งมีข้อจำกัด เกี่ยวกับเวลาการวิ่งของรถบรรทุก ถ้าปรับเปลี่ยนจากการมีโรงงานในแหล่งปลูกต้นไม้แล้วทำการขนกระดาษสำเร็จรูป ในลักษณะต่าง ๆ เข้าเมืองจะทำได้สะดวกกว่า ต้นทุนในการขนย้ายจะถูกกว่าด้วย เป็นต้น
 
* ที่ตั้งใกล้กลุ่มลูกค้า 
ทำเลที่ตั้ง ที่อยู่ในพื้นที่ของการให้การบริการต่าง ๆ แก่ลูกค้าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากใน การตัดสินใจเพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นกิจการที่ทำธุรกิจในการให้การบริการ เนื่องจากการที่จะมีส่วนแบ่งทางการตลาดได้มากน้อยเพียงใดนั้นจำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้มากกว่า ด้วยเหตุผลนี้ธุรกิจให้การบริการจึงมักจะกำหนดทำเลที่ตั้งในพื้นที่ที่จำนวน ประชากรอยู่อย่างหนาแน่นมากกว่าเพื่อให้การเข้าถึงลูกค้าทำได้สะดวกกว่านั่น เอง                    
 
เช่น ร้านค้าปลีก ภัตตาคารหรือร้านอาหาร สถานีบริการน้ำมัน ร้านขายของชำ ร้านซักรีด–ซักแห้ง และร้านขายดอกไม้ เป็นต้น โดยเฉพาะเมื่อเป็นผู้ค้าปลีกรายใหญ่มักจะมีทำเลที่ตั้งใจกลางเมืองใหญ่ซึ่ง เป็นศูนย์กลางทางการตลาดที่ดี เป็นผลทำให้กิจการให้การบริการขนาดเล็กในลักษณะต่าง ๆ ตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งในบริเวณเดียวกันเพราะผู้ค้าปลีกขนาดใหญ่มีความ สามารถดึงดูดใจลูกค้าได้เป็นอย่างดี
 
เหตุผลอื่น ๆ ของการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้กลุ่มลูกค้าอาจจะรวมไปถึงลักษณะโดยธรรมชาติของ สินค้าที่เน่าเสียได้ง่าย หรือต้นทุนการขนส่งในการส่งมอบให้กับลูกค้าที่มีมูลค่าสูง เช่น สินค้าประเภทอาหารต้องสดหรือใหม่ ไม่หมดอายุ ดอกไม้ที่จะต้องสดไม่เหี่ยวเฉา หรือ สินค้าประเภทยาที่จำเป็นต้องส่งมอบถึงลูกค้าเนื่องจากมีอายุการใช้งานที่ จำกัด หรือสินค้าที่เป็นโลหะหนักประเภทเหล็ก ท่อ หรือปูนซีเมนต์ที่ต้นทุนการขนส่งค่อนข้างสูง เป็นต้น
 
* ที่ตั้งใกล้แหล่งแรงงาน 
พื้นที่ที่ สามารถจัดหาแรงงานที่มีคุณลักษณะที่ต้องการได้อย่างเพียงพอเป็นปัจจัยที่มี ความสำคัญในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มแรงงานที่ต้องทำงานหนักซึ่งไม่ได้ใช้ทักษะความรู้ใน ด้านใดด้านหนึ่งมากนัก กิจการต่าง ๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงความสามารถในการจัดหาแรงงานที่กิจการมีความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานอุตสาหกรรม แรงงานที่มีทักษะเฉพาะด้านอย่างใดอย่างหนึ่ง           
 
เช่น โรงงานบางแห่งมีความต้องการแรงงานที่ทำการประกอบชิ้นส่วน ในขณะที่บางโรงงานมีความต้องการแรงงานที่มีความทางด้านช่างเทคนิคหรือความ รู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ดังนั้นกิจการต่าง ๆ นั้นจึงควรเลือกทำเลที่ตั้งในพื้นที่ที่สามารถจะช่วยสนับสนุนหรือส่งเสริม การจัดหาแรงงานที่ต้องการในลักษณะดังกล่าวได้ด้วย 
 
เหตุผลอื่น ๆ ของการให้ความสำคัญกับปัจจัยในเรื่องของพื้นที่ที่จัดหาแรงงาน เช่น อัตราค่าจ้างแรงงานในแต่ละพื้นที่ การมีกลุ่มสหภาพแรงงาน หรือทัศนคติของคนงานในพื้นที่ เป็นต้น ความเชื่อ หรือทัศนคติของคนงานในแต่ละพื้นที่ระหว่างคนในเมืองกับคนชนบทที่มีต่องาน ต่าง ๆ นั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก ทัศนคติเป็นปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่องาน เช่น การมาทำงาน ความกระตือรือร้น ความคล่องแคล่วในการทำงาน และการลาออกจากงาน เป็นต้น ทัศนคติของคนงานในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นสามารถจะส่งผลกระทบที่สำคัญต่อผลผลิตของงานได้
 
* ปัจจัยในเรื่องของชุมชนหรือสังคม
ความสำเร็จ ของกิจการในบางทำเลที่ตั้งนั้นสามารถจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยในเรื่องความ เป็นที่ยอมรับของชุมชนหรือสังคมในพื้นที่ว่าเป็นที่ยอมรับในระดับมากน้อย เพียงใดเป็นสำคัญ ชุมชนหลาย ๆ แห่งให้การยอมรับธุรกิจใหม่ที่จะเข้ามาในมุมมองที่ว่าอาจจะเป็นแหล่งในการ เก็บภาษีเพื่อการนำไปบำรุงท้องที่ การมีโอกาสในการทำงานที่มากขึ้น หรือดีขึ้น หรือสะดวกมากขึ้น      
 
รวมไปถึงสิ่ง ดี ๆ ที่ชุมชนโดยภาพรวมจะได้รับ อย่างไรก็ตามชุมชนหรือสังคมจะไม่ให้การต้อนรับกิจการใดที่อาจจะนำมาซึ่งมล ภาวะที่เป็นพิษในลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำเน่าเสีย เสียงดัง การจราจรติดขัด หรือกิจการที่จะทำให้ชุนชนในสังคมแห่งนั้นมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงไปกว่าเดิม เช่น การสร้างโรงงานไฟฟ้า การสร้างบ่อบำบัดนำเสีย การสร้างสนามบิน เป็นต้น 
 
* ปัจจัยเกี่ยวกับพื้นที่ที่ตั้ง 
การพิจารณา พื้นที่ของทำเลที่ตั้งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง เช่น ต้นทุนในเรื่องของสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน สภาพของดิน หรือการมีภูเขาล้อมรอบ เป็นต้น พื้นที่ที่มีข้อจำกัดในลักษณะต่าง ๆ จะส่งผลกระทบทำให้กิจการต้องใช้เงินลงทุนในจำนวนที่มากขึ้นเพื่อปรับปรุง สาธารณูปโภคหรือทรัพยากรในการดำเนินงานขั้นพื้นฐานให้มีความพร้อมสมบูรณ์ เสียก่อนจึงจะสามารถดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวมากขึ้น
 
* คุณภาพชีวิต 
ปัจจัยที่ สำคัญอีกประการหนึ่งในการเลือกทำเลที่ตั้งคือ คุณภาพชีวิตในแต่ละพื้นที่ที่มีให้กับพนักงานของกิจการ ปัญหานี้อาจจะกลายเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในอนาคตได้เมื่อกิจการจัดจ้าง พนักงานชุดใหม่หรือทีมงานใหม่เข้ามาทำงานซึ่งอาจจะเป็นคนในต่างพื้นที่ คุณภาพชีวิตนี้มีความหมายรวมถึง สภาพอากาศโดยปกติในพื้นที่           
 
สภาพของการ ดำรงชีวิตโดยปกติทั่วไป สถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน วิทยาลัย สถาบัน หรือมหาวิทยาลัย และอัตราการเกิดอาชญากรรม เป็นต้น แน่นอนว่าคุณภาพชีวิตไม่ได้เป็นปัจจัยหลักในการเลือกทำเลที่ตั้ง อย่างไรก็ตามเมื่อปัจจัยในด้านอื่น ๆ ไม่ได้มีความแตกต่างกันในแต่ละทำเลที่ตั้งแล้ว ปัจจัยในเรื่องของคุณภาพชีวิตอาจจะกลายเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการตัดสิน ใจในท้ายที่สุดก็เป็นไปได้
 
* ปัจจัยอื่น ๆ 
นอกจากปัจจัย ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวถึงข้างต้นแล้วนั้นอาจจะมีปัจจัยในลักษณะอื่น ๆ เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้เช่นกัน ปัจจัยอื่น ๆ เหล่านี้อาจจะหมายความรวมไปถึง พื้นที่ว่างที่เหลือสำหรับเป็นสวนสาธารณะของลูกค้าในชุมชน ทัศนียภาพในพื้นที่ที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้า ความสะดวกในการเดินทาง หรือพื้นที่เพื่อการขยายกำลังการผลิตของกิจการในอนาคต ต้นทุนการก่อสร้าง ค่าเบี้ยประกันภัยในพื้นที่ การแข่งขันในพื้นที่ การจราจรในพื้นที่ ถนนที่ตัดผ่านในพื้นที่ หรือการเมืองในพื้นที่ เป็นต้น
 
โลกไร้พรมแดน
นอกเหนือจาก จะต้องทำการพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยเฉพาะด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกทำเล ที่ตั้งตามที่ได้กล่าวข้างต้นนั้นแล้ว กิจการจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบหลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันเนื่องมา จากแนวโน้มของการทำธุรกิจในโลกในปัจจุบันนี้ประกอบด้วย โลกไร้พรมแดนในที่นี้หมายถึงกระบวนการการวิเคราะห์ทำเลที่ตั้งเพื่อการจัด เตรียมกำลังการผลิตในการดำเนินงานของกิจการกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก 
 
ตลอดช่วงระยะ เวลา 10 ปีที่ผ่านมาความยากลำบากในการทำธุรกิจนั้นไม่ใช่แต่เฉพาะประเด็นในส่วนของ แนวโน้มเท่านั้น แต่ยังมีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิถีทางหรือแนวทางในการติดต่อสื่อสารเพื่อการ ทำธุรกิจร่วมกัน เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น  แฟกซ์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การประชุมทางไกล (Video Conference) หรือการจัดส่งสินค้าในทันทีได้ตลอดเวลาแม้ในเวลากลางคืน เป็นต้น
 
จากที่กล่าว มาจึงเห็นได้ว่าการติดต่อสื่อสารในระยะทางไกลนั้นไม่เป็นปัญหาในการดำเนิน ธุรกิจแต่อย่างใดเมื่อเปรียบกับในอดีตที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การตลาดและการแข่งขันกันทางธุรกิจในระดับโลกจึงได้ทวี ความสำคัญและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น        
 
จากแต่เดิม ความมีประสิทธิผลในการทำธุรกิจจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นของต้นทุนเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันนี้กิจการหลาย ๆ แห่งได้ขยายความสำคัญในการดำเนินธุรกิจไปในหลาย ๆ ด้านมากขึ้นซึ่งรวมถึงการจัดหาแหล่งทรัพยากรระดับโลก ทำให้ปัจจัยอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากเรื่องของความห่างไกลจึงกลายเป็นสิ่งที่ได้รับการวิพากษ์ วิจารณ์มากขึ้นในการเลือกทำเลที่ตั้งในทางภูมิศาสตร์
 
การตัดสินใจ ที่จะขยายการดำเนินงานในระดับโลกนั้นไม่ใช่สิ่งที่จะทำการตัดสินใจได้ง่าย มีหลายสิ่งหลายอย่างที่จะต้องทำการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจ และปัญหาต่าง ๆ ในการดำเนินงานจะต้องได้รับการถ่วงดุลกันถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่พึงจะได้รับ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียในการดำเนินธุรกิจระดับ โลกเป็นเบื้องต้นเสียก่อน
 
ข้อดีของโลก ไร้พรมแดน มีเหตุผลหลาย ๆ ประการว่าทำไมกิจการต่าง ๆ จึงต้องการขยายการดำเนินงานให้เป็นการทำธุรกิจระดับโลก ประเด็นหลักอย่างหนึ่ง ทำให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบจากการทำการตลาดระหว่างประเทศ ความต้องการในการนำสินค้าเข้าประเทศนับวันจะมีการขยายตัวไปในภาคธุรกิจต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น จึงทำให้ต้องมีการนำเสนอกิจกรรมทางการตลาดที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ชน      
 
ทั้งนี้เพื่อ ประโยชน์ในการแข่งขัน ดังนั้นการที่เข้าไปเลือกทำเลที่ตั้งเพื่อการผลิตในต่างประเทศที่มีการนำ เข้าสินค้าของกิจการจะช่วยทำให้สามารถลดผลกระทบต่อความรู้สึกที่ไม่ดีของ ประชากรในพื้นที่ต่างประเทศเกี่ยวกับการเป็นสินค้านำเข้าได้ในระดับหนึ่ง ด้วย 
 
ข้อดีใน ลักษณะอื่น ๆ ได้แก่ การลดการผูกขาดทางการค้า การเลือกที่จะเข้ามาตั้งกิจการเพื่อทำการผลิตสินค้าในพื้นที่ต่างประเทศที่ เป็นลูกค้าของกิจการ จะช่วยทำให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับโควต้าการนำเข้าสินค้าได้ นอกจากนี้การขยายกิจการไปยังต่างประเทศนั้นยังมีประเด็นในเรื่องของค่าจ้าง แรงงานที่ถูกกว่าในบางประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น แรงงานในประเทศจีน ลาว เวียดนาม ไทย เป็นต้น           
 
ซึ่งถือเป็น สิ่งดึงดูดใจให้กิจการต่าง ๆ ต้องการเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้าในพื้นที่ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น หรือบ่อยครั้งที่จะทำให้มีต้นทุนที่ถูกกว่าจากการส่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วน ประกอบต่าง ๆ เพื่อนำไปทำการประกอบต่อก่อนจะนำส่งสินค้าสำเร็จรูปที่ได้ไปยังสถานที่อื่น ๆ ที่เป็นประเทศคู่ค้าต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าต้นทุนของค่าจ้างแรงงานจะช่วยให้สามารถประหยัดไปได้มากกว่าต้น ทุนในการขนส่งที่จะเพิ่มขึ้น
 
แม้ว่าจะมี ข้อดีหลายประการในยุคโลกาภิวัตน์ แต่ยังมีข้อเสียหลายประการที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไป การเมืองเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงอย่างมากต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศที่การเมืองยังไม่มีความชัดเจน หรือขาดเสถียรภาพทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในแต่ครั้งอาจจะมีการออกกฎหมาย หรือมาตรการทางภาษีใหม่ ๆ ที่อาจเป็นการสร้างเงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการทำธุรกิจของกิจการได้ ซึ่งกิจการจะต้องยอมรับหลักเกณฑ์เหล่านั้นไปโดยปริยาย
 
การเข้าไปลง ทุนตั้งกิจการในต่างประเทศซึ่งเป็นแหล่งซัพพลายเออร์ที่จัดหาวัตถุดิบของ กิจการ ในบางครั้งอาจจะทำให้ต้องมีการแลกเปลี่ยนความรู้หรือเทคโนโลยีทางการผลิต หรือการบริหารจัดการใหม่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ความสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดของการบริหารคุณภาพ โดยรวมที่สนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งผลผลิตใน ลักษณะเป็นตัวสินค้าหรือการบริการนั้นจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง ธุรกิจระหว่างกันทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจร่วมกันของทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามกิจการที่อยู่ในฐานะที่เป็นฝ่ายผลิตโดยตรงอาจจะต้องพิจารณา ทบทวนด้วยความระมัดระวังในการแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันข้อมูลใด ๆ ระหว่างกัน
 
สำหรับ ประเด็นในเรื่องของการใช้แรงงานในพื้นที่ต่างประเทศที่เข้าไปลงทุนนั้น กิจการอาจจะให้ความสนใจในเรื่องของอัตราค่าจ้างแรงงานที่ถูกกว่า แต่อย่างไรก็ตามกิจการอาจจะเผชิญกับทัศนคติ พฤติกรรมของคนงานที่มีความแตกต่างกันออกไปในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ
 
นอกจากนี้ ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างที่เป็นระบบการให้บริการพื้นฐานแก่ ประชาชนในประเทศของแต่ละประเทศก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อย หลาย ๆ ประเทศที่ยังไม่ได้ทำการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานเหล่านี้ซึ่งรวมถึงทุกอย่าง ตั้งแต่ถนน ระบบการขนส่งมวลชน ตลอดจนสาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหมดซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานใน การดำเนินธุรกิจ
 
ประเด็นอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาในการเลือกทำเลที่ตั้งในต่างประเทศ นอกเหนือจากข้อดีข้อเสียในลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในขั้นต้นนั้นแล้ว กิจการจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบในลักษณะอื่น ๆ ประกอบกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันได้โดยทั่วไปในประเทศหนึ่งอาจจะ ไม่เป็นที่ยอมรับของอีกประเทศหนึ่งก็เป็นไปได้
 
1.ความแตก ต่างในเรื่องของวัฒนธรรมในแต่ละท้องที่ ซึ่งแน่นอนว่าคนในแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคย่อมมีทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม มาตรฐานของเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีความแตกต่างกันซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นการ ยากที่จะพยายามทำความเข้าใจให้ตรงกัน
 
2.ภาษาที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารในแต่ละประเทศเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีศักยภาพสำคัญต่อการ ตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง พนักงานและหัวหน้างานจะต้องสามารถทำการติดต่อสื่อสาร ประสานงานกันเพื่อให้การดำเนินงานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการทำ งาน การที่ไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้อย่างแท้จริงอาจจะส่งผลเสียหายที่ ร้ายแรงตามมาได้ 
 
3.ความแตก ต่างในเรื่องของกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งรวมความถึงกฎหมายในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับประชากรในประเทศนั้น โดยเฉพาะในส่วนของกฎหมายแรงงานที่อาจจะทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ข้อ ปฏิบัติในการทำงานได้
 
กระบวนการสำหรับการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง
เมื่อผู้บริหารต้องทำการวางแผนการผลิตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอน 3 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัจจัยที่เป็นประเด็นหลักสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้ง
ขั้น ที่ 2 การพิจารณาเพื่อหาทางเลือกของทำเลที่ตั้งที่สามารถบรรลุผลที่น่าพึงพอใจสอด คล้องกับประเด็นหลักสำคัญที่ได้กำหนดไว้ในขั้นที่ 1
 
ขั้นที่ 3 การประเมินค่าหรือวัดค่าของแต่ละทางเลือกเพื่อสรุปผลลัพธ์ในการตัดสินใจว่า จะเลือกทำเลที่ตั้ง การตัดสินใจในขั้นนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เนื่องจากทางเลือกหนึ่งอาจจะให้ค่าผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในปัจจัยที่เป็น ประเด็นหลักอย่างหนึ่ง ในขณะที่อีกทางเลือกหนึ่งอาจจะให้ค่าผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจในปัจจัยที่เป็น ประเด็นหลักอีกอย่างหนึ่ง
 
*  กระบวนการของการประเมินค่าหรือวัดค่าของแต่ละทางเลือก
การประเมิน ค่าหรือวัดค่าผลลัพธ์ในแต่ละทางเลือกจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่จะช่วย สนับสนุนกระบวนการในการตัดสินใจเนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดทำเล ที่ตั้งที่ได้กล่าวถึงมาทั้งหมดข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่เป็น นามธรรมไม่สามารถทำการประเมินหรือวัดค่าได้ง่าย และผู้บริหารตระหนักดีถึงข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่ากิจการจะต้องดำเนินงาน ณ ทำเลที่ตั้งนี้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ดังนั้นการตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดทำเลให้มีความเหมาะสมถูกต้องจึงเป็น สิ่งที่มีความสำคัญมากอย่างหนึ่ง
 
การจัดอันดับปัจจัย (Factor Rating) จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายประการที่ผู้บริหาร ต้องทำการพิจารณาเมื่อจะทำการประเมินค่าทางเลือกในการตัดสินใจ วิธีการอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อทำให้ได้มาซึ่งโครงสร้างของกระบวน การตัดสินใจในระดับหนึ่งคือ การจัดอันดับปัจจัย   
 
การจัดอันดับ ปัจจัยเป็นกระบวนการที่สามารถใช้เพื่อการประเมินค่าทางเลือกที่หลากหลายซึ่ง ขึ้นอยู่กับจำนวนของปัจจัยที่ถูกคัดเลือกเป็นประเด็นในการกำหนดทำเลที่ตั้ง เครื่องมือนี้สามารถช่วยให้สามารถทำการหาค่าปัจจัยที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็น ประเด็นสำคัญของการกำหนดทำเลที่ตั้งได้ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการทำได้ดังนี้ 
 
ขั้นที่ 1 ระบุปัจจัยหลักที่ใช้เพื่อการกำหนดทำเลที่ตั้ง เช่น ใกล้กลุ่มตลาดเป้าหมาย ความสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ การแข่งขัน หรือคุณภาพชีวิต เป็นต้น
ขั้น ที่ 2 การให้ค่าน้ำหนักคะแนนกับปัจจัยต่าง ๆ เพื่อสะท้อนถึงความสำคัญของปัจจัยแต่ละปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัย อื่น ๆ กำหนดให้ผลรวมของค่าคะแนนของทุกปัจจัยเท่ากับ 100 คะแนน
 
ขั้นที่ 3 การให้ค่าน้ำหนักในการจัดลำดับเพื่อการประเมินค่าแต่ละทำเลที่ตั้งที่มีความ เกี่ยวข้องกับปัจจัยทำเลที่ตั้งในอีกลักษณะหนึ่ง โดยปกติทั่วไปใช้ค่า 5 ค่าเพื่อการจัดลำดับคือ เลข 1 แสดงค่าน้ำหนักที่น้อยที่สุด ไล่ลำดับขึ้นไปจนถึงเลข 5 แสดงค่าน้ำหนักมากที่สุด
ขั้นที่ 4 ประเมินค่าความเกี่ยวข้องกันในแต่ละทางเลือกที่มีต่อปัจจัยอื่น ๆ โดยใช้ช่วงการจัดลำดับที่ได้จากขั้นที่ 3
 
ขั้นที่ 5 ให้นำค่าน้ำหนักคะแนนกับค่าน้ำหนักที่ใช้จัดลำดับของแต่ละปัจจัยและแต่ละ ทำเลที่ตั้งมาคูณกันเพื่อสรุปผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก วิธีการในลักษณะนี้ค่าคะแนนของแต่ละทางเลือกจึงขึ้นอยู่กับค่าน้ำหนักคะแนน และค่าน้ำหนักการจัดลำดับของแต่ละปัจจัยทำเลที่ตั้งว่าเป็นอย่างไรบ้าง
ขั้นที่ 6 เลือกทางเลือกที่ได้ค่าตัวเลขรวมสูงสุด
 
ตัวอย่างที่ 1
บัณฑิตกำลัง ทำการพิจารณาเพื่อการประเมินค่าทางเลือกของทำเลที่ตั้ง 3 แห่งซึ่งแตกต่างกันในการประกอบธุรกิจร้านอาหาร บัณฑิตได้ทำการระบุถึงปัจจัยที่สำคัญ 5 ปัจจัยที่จะนำมาใช้เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม โดยได้ทำการให้น้ำหนักที่เป็นค่าคะแนนของแต่ละปัจจัยในแต่ละทำเลที่ตั้งไว้ ดังนี้
 

 
ส่วนค่าน้ำหนักที่ใช้ในการจัดลำดับนั้นกำหนดให้มี 5 ช่วงเริ่มจากน้อยที่สุดคือ 1 ไล่ลำดับมากที่สุดคือ 5 แสดงได้ดังนี้

 
ผลลัพธ์ที่ได้จากการจัดลำดับปัจจัยเมื่อดำเนินการตามขั้นที่ 1–ขั้นที่ 6 แสดงได้ดังนี้

จากผลการคำนวณในตารางข้างต้นจะเห็นได้ว่านายบัณฑิตควรจะเลือกทำเลที่ตั้ง ค ในการทำร้านอาหาร
 
*  รูปแบบค่าน้ำหนักและระยะทาง (The Load–Distance Model)
รูปแบบค่า น้ำหนักและระยะทางเป็นกระบวนการสำหรับการประเมินค่าเพื่อเลือกทำเลที่ตั้ง ของแต่ละทางเลือกโดยเกณฑ์การตัดสินใจนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะทาง ระยะทางเป็นการวัดค่าถึงความใกล้ไกลจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ความใกล้ไกลจากซัพพลายเออร์ ความใกล้ไกลจากแรงงาน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจะถูกนำไปใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณา         
 
วัตถุประสงค์ ของรูปแบบนี้คือเพื่อต้องการเลือกทำเลที่ตั้งที่มีจำนวนรวมของน้ำหนักที่ทำ การขนย้ายระหว่างระยะเวลาในการเดินทางให้มีจำนวนที่น้อยที่สุด รูปแบบค่าน้ำหนักและระยะทางสามารถแสดงอยู่ในรูปของสมการที่ 1 เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกันโดยจะทำการคำนวณน้ำหนัก และระยะทางของแต่ละทำเลที่ตั้ง สมการที่ 1 แสดงได้ดังนี้
 
จำนวนรวมค่าน้ำหนักและระยะทางของทำเลที่ตั้งหนึ่ง ๆ = 
กำหนดให้
            LAB = น้ำหนักการขนย้ายระหว่างทำเลที่ตั้ง A และ B
            DAB = ระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้ง A และ B
 
จากสูตรข้าง ต้นจะเห็นได้ว่าจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางของทำเลที่ตั้งหนึ่ง ๆ สามารถหาได้จากผลคูณของค่าน้ำหนักการขนย้ายระหว่างทำเลที่ตั้ง (LAB) กับระยะทาง (DAB) และรวมผลคูณทั้งหมดของทุกทำเลที่ตั้ง โดยเป้าหมายของจำนวนรวมที่ต้องการคือค่าที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะสามารถเป็นไป ได้เพื่อที่จะลดการเดินทางสำหรับทำเลที่ตั้งที่มีภาระน้ำหนักการขนย้ายมาก ให้ลดลง
 
ลำดับขั้นตอนในการจัดทำเพื่อให้ได้มาซึ่งจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางที่จะใช้ในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง มีดังนี้
ขั้นที่ 1 คำนวณระยะทาง ขั้นแรกนี้เป็นการระบุระยะห่างระหว่างตำแหน่งที่ตั้ง ๆ ต่าง บ่อยครั้งที่การวัดค่าระยะทางจะทำการวัดค่าในลักษณะที่เป็นเส้นตรง ระยะห่างที่เป็นเส้นตรงคือระยะทางที่สั้นที่สุดระหว่างตำแหน่ง 2 ตำแหน่งโดยทำการวัดระยะการเคลื่อนที่ในแนวทิศเหนือหรือทิศใต้ และทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก
 
การวัดค่า ระยะทางในลักษณะที่เป็นเส้นตรงจะถูกกำหนดเป็นพิกัดแสดงจุดเชื่อมต่อเป็น แผนที่และใช้แผนที่นั้นเพื่อการประเมินค่าระยะห่างระหว่าง 2 ทำเลที่ตั้ง ระยะทางในลักษณะที่เป็นเส้นตรงระหว่าง 2 ทำเลที่ตั้งสามารถทำการคำนวณหาได้จากผลรวมของค่าสัมบูรณ์ของความแตกต่าง ระหว่าง 2 ทำเลที่ตั้ง เขียนเป็นสูตรการคำนวณได้ดังนี้
 
     
กำหนดให้
     DAB = ระยะทางระหว่างทำเลที่ตั้ง A และ B
     XA  = ค่าพิกัดในแนวแกน X ของทำเลที่ตั้ง A
     XB  = ค่าพิกัดในแนวแกน X ของทำเลที่ตั้ง B
     YA  = ค่าพิกัดในแนวแกน Y ของทำเลที่ตั้ง A
     YB  = ค่าพิกัดในแนวแกน Y ของทำเลที่ตั้ง B
 
ขั้นที่ 2 ระบุน้ำหนักการขนย้าย เมื่อสามารถคำนวณระยะทางที่เป็นเส้นตรงได้แล้วขั้นต่อไปจึงทำการระบุน้ำหนัก ที่จะทำการขนย้ายระหว่างทำเลที่ตั้งหนึ่ง ๆ ค่าที่ได้คือ LAB
ขั้นที่ 3 คำนวณจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางสำหรับแต่ละทำเลที่ตั้งที่ได้จากขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 ซึ่งสามารถหาได้โดยการการนำค่าระยะทางคูณด้วยค่านำหนักการขนย้าย
ขั้นที่ 4 เลือกทำเลที่ตั้งที่ให้ค่าจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางที่น้อยที่สุด
 
ตัวอย่างที่ 2
บริษัทสุนิสา อุตสาหกรรม กำลังทำการพิจารณาทำเลที่ตั้งคลังสินค้า 2 แห่งคือ พื้นที่ ก และพื้นที่ ข เพื่อกระจายสินค้าไปยังสาขาจำหน่ายใน 4 สาขา คือ สาขา A สาขา B สาขา C และสาขา D ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับพิกัดตำแหน่งของคลังสินค้าและสาขาที่จะต้องทำการ กระจายสินค้าดังแสดงในแผนภาพต่อไปนี้
 

 
ขั้นที่ 1 คำนวณระยะทางระหว่างคลังสินค้าในแต่ละแห่งไปยังสาขาแต่ละสาขา ดังนี้
ระยะทางระหว่างสาขาแต่ละแห่งไปยังคลังสินค้าในพื้นที่ ก

 
ระยะทางระหว่างสาขาแต่ละแห่งไปยังคลังสินค้าในพื้นที่ ข

 
ขั้นที่ 2 ระบุน้ำหนักสินค้าที่ต้องขนย้ายระหว่างสาขาและคลังสินค้า

 
ขั้นที่ 3 คำนวณจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางสำหรับแต่ละทำเลที่ตั้ง
การคำนวณหาจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาทั้ง 4 สาขากับคลังสินค้าในพื้นที่ ก แสดงได้ดังนี้

 
การคำนวณหาจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาทั้ง 4 สาขากับคลังสินค้าในพื้นที่ ข แสดงได้ดังนี้

 
เมื่อเปรียบ เทียบผลการคำนวณจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาจัดหน่าย 4 สาขาไปยังคลังสินค้าทั้ง 2 แห่ง พบว่าค่าจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาจัดหน่าย 4 สาขาไปยังคลังสินค้า ก นั้นสูงกว่าของค่าจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางระหว่างสาขาจัดหน่าย 4 สาขาไปยังคลังสินค้า ข ดังนั้น ทำเลที่ตั้งที่เหมะสมที่กิจการควรตั้งเป็นพื้นที่คลังสินค้าคือตำแหน่งพิกัด คลังสินค้าในพื้นที่ ข
 
* วิธีหาจุดศูนย์ถ่วง (The Center of Gravity Approach)
การเลือกทำเล ที่ตั้งโดยใช้รูปแบบจำนวนรวมน้ำหนักและระยะทางจะถูกนำไปใช้เมื่อมีเป้าหมาย ของทำเลที่ตั้งไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว อย่างไรก็ตามทำเลที่ตั้งที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอาจจะไม่ใช่ตำแหน่งที่มีจำนวน รวมน้ำหนักและระยะทางที่มีค่าน้อยที่สุดก็เป็นไปได้ วิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยในการหาตำแหน่งที่ทำให้จำนวนรวมน้ำหนักและระยะ ทางมีค่าน้อยที่สุดในบริเวณที่เป็นพื้นที่เป้าหมายโดยรวมคือ วิธีหาจุดศูนย์ถ่วง
 
ซึ่งอาจจะทำ ให้ได้ทำเลที่ตั้งอื่น ๆ ในบริเวณพื้นที่เป้าหมายได้ดีกว่า ค่าพิกัดแสดงตำแหน่งของระยะทางในแนวแกน X และ Y ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงในบริเวณของพื้นที่เป้าหมายสามารถคำนวณหาได้ จากสูตรดังนี้
 
              
 
กำหนดให้
            C.G.  = ตำแหน่งของจุดศูนย์ถ่วงในบริเวณของพื้นที่เป้าหมาย
            i       = บริเวณใด ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย
            LA     = น้ำหนักการขนย้ายในพื้นที่เป้าหมายใด ๆ
            XA    = พิกัดแนวแกน X บริเวณใด ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย
            YA    = พิกัดแนวแกน Y บริเวณใด ๆ ที่เป็นพื้นที่เป้าหมาย
 
ตัวอย่างที่ 3
จากตัวอย่าง ที่ 2 ให้ทำการหาตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์ถ่วงเพื่อการกำหนดทำเลที่ตั้งคลังสินค้า ที่เหมาะสมต่อการขนย้ายสินค้าไปยังสาขาจัดจำหน่าย 4 สาขา
 
ก่อนการคำนวณ ตำแหน่งที่เป็นจุดศูนย์ถ่วงจะต้องหาค่าจำนวนรวมของน้ำหนักและระยะทางของแต่ ละตำแหน่งในบริเวณที่เป็นพื้นที่เป้าหมายก่อน แสดงการคำนวณได้ดังนี้
 


จาการคำนวณ
 

จากตำแหน่งที่ได้ข้างต้นสามารถนำมาแสดงในแผนภาพเพื่อให้เห็นพิกัดเป้าหมายได้ดังนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น